วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เรื่องเล่าเอามาฝาก....อยากรู้อะไรเกี่ยวกับอาชีพแอร์โฮสเตส ต้องอ่านบทนี้!

อยากรู้อะไรเกี่ยวกับอาชีพแอร์โฮสเตส  ต้องอ่านบทนี้!   คุณจะได้เห็นมองภาพรวมของอาชีพนี้ได้ดียิ่งขึ้นเลยค่ะ  อย่างคำถามที่เราเจอกันบ่อย  เริ่มต้นตั้งแต่ก้าวแรกกันเลยว่าลูกเรือคืออะไร?   เวลาบินไปค้างที่ต่างประเทศพักที่ไหน  ต้องจ่ายค่าโรงแรมเองหรือไม่ ?  ได้กลับไทยหรือไม่?  เงินเดือนเยอะจริงหรือไม่?  
ที่มา:middleeastcabincrew.com
เริ่มกันเลยค่ะ : )

✈ 1.ลูกเรือ คืออะไร?
a
คือ เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ปฏิบัติงานบนเครื่องบินโดยสาร (ยกเว้นคนเครื่องบินและผู้ช่วยนักบิน)  เรามักเรียกแอร์โฮสเตส หรือ สจ๊วต ว่าลูกเรือ  หรือศัพท์ภาษาอังกฤษ ก็คือ Cabin Crew , Flight Attentdant นั่นเอง  เช่น ไฟลท์บินหนึ่งๆ สำหรับการ Operate Flight โดยเครื่องบิน Airbus 330   จะมีลูกเรือทั้งหมด 12 คน  และคนขับเครื่องบิน1 คน ผู้ช่วยคนขับเครื่องบินอีก 1 คน เป็นต้น

✈ 2.อยากเป็นแอร์โฮสเตส ต้องเรียนจบคณะอะไรมา?
บางสายการบินรับสมัครคุณสมบัติของแอร์โฮสเตส โดยใช้วุฒิการศึกษาขั้นต่ำมัธยมปลายค่ะ  แต่ฝนแนะนำว่า ควรจะเรียนจบอย่างน้อย ปริญญาตรี และใช้วุฒิการศึกษานี้ยื่นสมัครงาน เพราะหากวันใดวันหนึ่ง ที่เราลาออกการวงการการบินแล้ว  อย่างน้อยเราก็มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีที่เพื่อใช้ต่อในการสมัครงานอื่นๆ ได้ค่ะ
ดังนั้นแล้ว การสมัครแอร์ฯ   ผู้สมัครสามารถเรียนจบจากคณะอะไรก็ได้ค่ะ ขอเพียงแค่ใจมีใจที่รักงานด้านการบริการ  มีภาษาที่ดี และมีบุคลิกภาพที่ดี (สำหรับใครที่รู้ตัวเอง ว่าอยากเป็นแอร์ฯ ตั้งแต่ยังเรียนมัธยมปลาย  การเลือกเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ควรเลือกเรียนสาย ศิลป์ – ภาษา จะเป็นการวางรากฐานทางภาษา และตรงสายงานค่ะ) 
และการสมัครงานแอร์ ฯ ไม่จำเป็นจะต้องเรียนจบด้านธุรกิจการบิน  ไม่ว่าจะจบคณะไหน เช่น คณะศิลปศาสตร์  คณะวิศวกร  คณะประมง  คณะเภสัช    คณะสถาปัตยกรรม คณะนิเทศศาสตร์  สามารถสมัครแอร์ฯได้หมดทุกคณะเลย อย่างตัวฝนเอง ก็จบปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์เช่นกัน  
ช่วงที่สมัครงาน จึงโดนกรรมการถามอยู่เสมอว่า “ทำไมถึงเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์” กับ “ทำไมถึงอยากเปลี่ยนสายงาน ซึ่งมันคนละเนื้องานกันเลยนะ เพราะงานแอร์โฮสเตสเน้นด้านการบริการ” 
ข้อแนะนำการตอบคำตอบ
➨ Why did you choose to study that subject?
Economics is based on a reason and human beings are capable of always making rational decisions. I studied Economics because it is very interesting to study human desires which are unlimited to find out why they would like or dislike something. The knowledge helped me to understand other people’s desires to do the right things in order to gain customer loyalty in the long term.
➨ Why do you want to change your field?
In my own point of view, it’s not completely a change. The knowledge I gained from the Economics field allows me to utilize my skill such as to effectively solve problem in unexpected situations , as well as to minimize cost and time to maximize customer satisfaction. Moreover, studying Economics made me look at myself deeper so I’m always attentive to improve myself. I believe these skills I have gained can be adapted well to be a professional flight attendant.
เทคนิค : ถึงแม้ว่าเราไม่ได้จบในเนื้องานสายการบินโดยตรง แต่เราสามารถนำทักษะในสาขาที่เราเรียนจบ มาประยุกต์ใช้ได้

✈ 3.คุณสมบัติเบื้องต้นของแอร์ อยากเป็นแอร์แต่ไม่รู้อะไรเลย เริ่มต้นอย่างไรดี?
สามารถย้อนกลับไปอ่านได้ในหมวด CABIN CREW
บทที่ 3 “วิธีการเตรียมตัวเบื้องต้น  สมัครแอร์สายการบินตะวันออกกลาง”

 ✈ 4.ได้ยินมาว่าเป็นแอร์ยาก จริงหรือเปล่า ?
เนื่องจากอัตราการแข่งขันที่สูง และด้วยอัตราการรับสมัครพนักงานเข้าทำงาน กับ จำนวนผู้สมัครแข่งขัน มีสัดส่วนที่ต่างกันหลายเท่า  เพราะฉะนั้นบางสายการบินใหญ่ๆ (โดยเฉพาะสายการบินตะวันออกกลาง) นานทีปีครั้ง จึงมาเปิดรับสมัครลูกเรือไทย  คนสมัคร จึงล้นหลามบานปลายไปถึงหลักพัน
แต่ผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกร่วมงานกับสายการบิน นั้นอาจมีเพียงหลักสิบ  ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายพอตัว  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่มีอะไรยากเกินความสามารถ และความตั้งใจ และหมั่นพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

✈ 5.อาชีพแอร์ทำงานหนักหรือไม่?
c
ถือว่าค่อนข้างหนักเลยทีเดียว  แต่โดยส่วนตัวฝนมีความคิดเห็นว่า  ไม่ว่าจะอาชีพไหนๆ ล้วนมีข้อดีข้อเสีย และมีสภาพการทำงานที่ไม่เหมือนกัน  อย่างอาชีพแอร์ฯที่ชั่วโมงทำเงิน คือ การทำงานอยู่บนเครื่องบิน  ในสภาวะอากาศแห้ง  การกินนอนไม่เป็นเวลา  หรือบางครั้งร่างกายปรับตัวไม่ทันเพราะเกิดอาการ Jet Lag เนื่องจากต้องบินข้าม Time Zone ตลอดเวลา
อีกทั้งยังต้องเจอกับผู้โดยสารมากหน้าหลายตาย หลายอารมณ์ สติและการควบคุมอารมณ์จึงสำคัญกับเนื้องานนี้มาก
  ส่วนเรื่องยกของหนักอันนี้ก็เป็นเรื่องจริง เพราะแอร์ฯ ต้องยกตู้ Container ขนาดกลางที่เต็มไปด้วยเครื่องดื่ม และเข็น Cart เสิร์ฟอาหาร (ซึ่งหนักเลยทีเดียว) หรือบางครั้งการช่วยผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ยกกระเป๋าสัมภาระเก็บขึ้นตรงชั้นวางของเหนือศีรษะ                                 

✈ 6. ค่าตอบแทนอาชีพแอร์ฯ ดีหรือไม่?
หากมองที่เม็ดเงินที่ได้โดยรวม ถือว่าค่าตอบแทนที่สูงระดับหนึ่ง  เพราะรายได้ของอาชีพแอร์ฯมาจากหลายทางด้วยกัน  และที่สำคัญของสายการบินตะวันออกกลางคือ “TAX FREE ”  คือ เราได้ได้รายรับในการบินเดือนนั้นๆ มาเท่าไหร่ จะไม่มีการหักใดๆ ที่สิ้นอีกแล้ว  ถือเป็นข้อดีที่เราได้รับเม็ดเงินเต็มหน่วย แต่ข้อเสียคือ การที่เราไม่มีเครดิตในการทำธุรกรรมทางการเงินที่ไทยซัก เท่าไหร่นัก  เช่นการทำบัตรเครดิต (จะต้องใช้เงินตัวเองค้ำ)  , การกู้เงิน (อาจกู้เงินไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือ อาจต้องใช้กรณีการกู้ร่วม)
ยกตัวอย่างค่าตอบแทนจากสายการบินฝั่งตะวันออกกลาง
 Basic Salary 
 ฐานเงินเดือนสำหรับพนักงานประมาณ 4 หมื่นบาท เป็นเงินขั้นต้นที่จะต้องได้ทุกเดือนไม่ว่ามีชม.บินหรือไม่มีชม. บิน
➨ Flying Hours 
 ค่าชั่วโมงบิน ในแต่ละสายการบินจะไม่เหมือนกัน แบ่งได้อีกเป็น
           –    Block Hours คือ ชม.บินจริง ตามตารางการบิน ไม่รวมเวลา Check In , Check  Out , Delay
          –    Duty Hours   คือ ชม. การทำงานตั้งแต่ เวลาที่ Check In จนถึง Check  Out
บางสายการบินจ่ายค่าชั้วโมงบินให้ลูกเรือ โดยนับจาก เช่น
1.Block Hours (สายการบินปีกสีฟ้าโอมานแอร์)  
จ่ายค่าชั่วโมงบินเป็น  “ขั้นบันได”  คือ ยิ่งชั่วโมงบินเราเยอะเท่าไหร่  เงินเดือนโดยรวมก็จะมากตามขึ้นไปด้วย  เช่น ในหนึ่งเดือนหากบิน 10 ชม. แรก  ก็จะได้ชั่วโมงบินละ 100 บาท  แต่เมื่อไหร่ที่บินเกิน 100ชั่วโมง   ชั่วโมงที่เกิน 100 ขึ้นมา ก็จะได้ค่าชั่วโมงบินประมาณ 500 บาทค่ะ (ตัวเลขสมมติโดยประมาณ)
2.Duty Hours (สายการบินปีกสีเบอร์กันดี)
จ่ายค่าชั่วโมงบิน ตั้งแต่ชั่วโมงแรกที่บิน จนไปถึงชั่วโมงบินทั้งหมด ทั้งเดือน ประมาณชั่วโมงละ 500 บาท  โดยส่วนใหญ่แล้วในหนึ่งเดือนจะบินประมาณ 100 ชั่วโมงขึ้นไปค่ะ
สำหรับที่นี่การบินไฟลท์ยาวๆ  จะได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่ามาก เช่น รูทบินสหรัฐอเมริกา , ออสเตรเลีย , นิวซีแลนด์ ที่มีชั่วโมงบินไปกลับ ไม่ต่ำกว่า 25-30 ชั่วโมง  แปลว่าหากบินเพียง 1 ไฟลท์ สามารถทำเงินได้ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นบาททีเดียวเลยค่ะ 
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจมีคำถามว่า  “แล้วอย่างนี้ ไม่ขอไฟลท์บินยาวๆ หลายๆ ไฟลท์ในหนึ่งเดือนเลยล่ะ ? ”  คำตอบคือ  สายการบินมีการกำหนดให้ลูกเรือบินไฟลท์ยาว  (Ultra Long Hual)  เพียงไม่เกิน 3 ไฟลท์ต่อเดือนเท่านั้น  อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงสุขภาพด้วย เนื่องจากการบินยาว ส่งผลต่อการปรับตัวเรื่อง Body  Clock มากๆ เช่นกันค่ะ
➨ Allowance or Perdiem Allowances
คือ ค่าเบี้ยเลี้ยงที่บริษัทจ่ายให้เพื่อใช้ดำรงชีพ ในเวลาที่เรามีไฟลท์ค้างคืนที่ต่างประเทศ  แต่ค่าเบี้ยเลี้ยงจะเยอะหรือน้อยนั้น  ขึ้นอยู่กับค่าครองชีพของประเทศนั้นๆเช่นกัน เพราะฉะนั้นเวลามีบินไปไฟลท์ยุโรปก็จะได้ค่าเบี้ยเลี้ยงที่สูงกว่าบินไปฝั่งโซนเอเชีย   บางสายการบินจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงตามจำนวนมื้ออาหาร  , ตามจำนวนชั่วโมงที่อยู่ค้างคืน , ตามจำนวนคืน เป็นต้น
 ** เพราะฉะนั้นเงินเดือนโดยรวมทั้งหมด ขึ้นอยู่กับ จำนวนชั่วโมงบิน เนื่องจากเวลาทำเงินของเราคือเวลาบนฟ้า ยิ่งชั่วโมงบิน ชั่วโมงการทำงานเยอะ ,ตารางบินสวย มีไฟลท์ค้างคืนเยอะ  มีไฟลท์ยุโรปเยอะ  ก็จะได้ค่าเบี้ยเลี้ยงเยอะขึ้น ,ค่าทิปประสบการณ์การทำงานหรือความอาวุโส ฐานเงินเดือนก็จะสูงกว่า , ตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงกว่า เช่นหัวหน้า  เงินเดือนโดยรวมก็จะเยอะขึ้นอีกค่ะ   

✈ 7.หน้าที่หลักของอาชีพแอร์ฯ ?
เห็นอยู่บ่อยครั้งที่หลายคนมักมองว่าอาชีพแอร์ฯ เปรียบเสมือนคนใช้บนเครื่องบิน  แสดงให้เห็นว่า คนเหล่านั้นยังรู้จักอาชีพแอร์ดีไม่เพียงพอ รู้จักแค่เพียงผิวเผิน หรือมองจากภายนอกเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วหน้าที่เเอร์ฯ มีอยู่ 3 ประการ คือ
➨ Safety   เรื่องใหญ่มาก แอรฯมีหน้าที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นหลัก
➨ Service  อำนวยความสะดวกสบายให้ผู้โดยสารตลอดเที่ยวบิน
➨ Representation  เป็นภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสายการบิน

✈ 8. ทำงานกี่วันในหนึ่งเดือน?
การทำงานของแอร์ฯ คล้ายกับงานประจำ Office ทั่วไป  คือ ภายในหนึ่งเดือนจะมีวันหยุด  (24 ชม. เต็ม) 8 วัน แต่จะไม่ได้หยุดตรงกันทุกอาทิตย์อย่างเช่นงานประจำ Office คือ เสาร์ อาทิตย์ แต่วันหยุดของเราจะขึ้นอยู่กับตารางบิน ซึ่งทางบริษัทจัดมาให้
ส่วนเวลาเข้ามาก็จะไม่ได้ตรงเวลาทุกวันอย่างงานออฟฟิซ คือ เข้างาน 9 โมงเช้าเลิกงาน 5 โมงเย็น แต่ เวลาที่เราทำงานจะแล้วแต่ตารางบินอีกเช่นเคย เช่น บินไปลอนดอน Report Time ตั้งแต่เที่ยง บินไปถึงลอนดอน ค่ำ (เวลาลอนดอน)  หรือบางไฟลท์ต้องตื่นตั้งแต่ตีสามเพื่อมาเตรียมตัว บินกลางวันและกลางคืน  ส่วนเวลาที่เรากลับมาจากไฟลท์ ก็คือเวลาพักผ่อน เรียกว่า Rest (ไม่เต็ม 24 ชม.)  เพราะฉะนั้นเวลาจะนัดสังสรรค์เพื่อนแต่ละครั้ง หรือกลับบ้านช่วงวันหยุดพิเศษ เป็นไปได้ยากมาก  ต้องเปลี่ยนตาราง แลกวันหยุดวุ่นวายกันเลยทีเดียว

✈ 9. วันหยุดประจำปี?
วันพักร้อนประจำปี หรือที่เรียกว่า  Annual Leave  ในหนึ่งปีหนึ่งๆ เราจะได้วันหยุดเพิ่ม 40 วันหรือ 30วัน  สามารถเลือกได้ว่าจะเอาวันหยุดรวดเดียว 30-40 วัน หรือ แบ่งเป็นปีละ 2 ครั้ง คือ 20 วันและ 20 วัน  หรือครั้งละ 15 วันและ 15 วัน
โดยในเดือนนั้นๆ ที่มีวันพักร้อนประจำปี  ชั่วโมงบินก็จะน้อยลง เพราะโดนวันหยุดกินไปซะเยอะแล้ว  หรือถ้าหยุดยาวไม่ได้บินเลย เงินเดือนที่ได้รับก็คือ Basic Salary นั่นเอง

 ✈ 10. วันหยุดพิเศษ?
เป็นกรณีฉุกเฉินที่เราสามารถขอวันหยุดจากบริษัทได้ ปีละ ประมาณ 7 วัน เช่น กรณีกลับไปรักษาสุขภาพสั้นๆ เช่นทำฟัน ผ่าตัดเล็ก  งานศพญาติ เป็นต้น  แต่ในส่วนของวันหยุดนี้หากใครไม่ได้ใช้ในปีนั้นๆ  เมื่อถึงวันลาออก (แบบถูกขั้นตอน) บริษัทจะคิดเป็นเงินตามจำนวนวันที่เราไม่เคยลา แล้วจ่ายเป็นค่าตอบแทนให้อีกค่ะ
 ✈ 11.การลาป่วย?
สายการบินปัจจุบันของฝน 1 ปีลาป่วยได้ 14 ครั้ง  ทุกครั้งจะต้องมีใบลาป่วยเซ็นต์รับรองโดยคุณหมอด้วย  หากใครลาป่วยเกินกว่า 14 ครั้งอันนี้เป็นส่วนของทางบริษัทจะพิจารณาอาจมีผลต่อการต่อสัญญาว่าจ้าง  ส่วนถ้าไม่ลาป่วยหรือลาป่วยน้อยมาก ตามหลักการบริษัททั่วไปเลยค่ะ คือ อาจได้รางวัล (บริษัทแจก I-pad หรือ จ่ายเป็นเงินโบนัส หรือค่าโอทีให้ค่ะ พร้อมทั้งได้ใบประกาศนียบัตรว่าเป็นลูกเรือที่มีประวัติการทำงานที่ดี หรือมีผลต่อการเลื่อนขั้นค่ะ (Promote ไปทำงานในชั้นธุรกิจหรือเฟิร์สคลาสนั่นเอง)

✈ 12.การทำงาน เวลาบินไปต่างประเทศค้างคืนที่ไหน ต้องจ่ายค่าที่พักเองหรือไม่?
d
จะพักที่โรงแรมค่ะ (4 ดาวขึ้นไป) ซึ่งทางสายการบินจัดให้ โดยเราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดใดทั้งสิ้น พร้อมกับได้ค่าเบี้ยเลี้ยงไว้ดำรงชีพในต่างประเทศ  พร้อมทั้งอาหารบุฟเฟต์ หรืออาหารเช้าที่โรงแรม  (แต่บางประเทศ ก็ไม่มีสวัสดิการพวกนี้นะคะ จะต้องจ่ายเอง)  รวมถึง Facility ต่างๆ ที่โรงแรมมีให้ เช่น รถบัสรับส่งเข้าเมือง  ซักรีด เล้าจ์ สระว่ายน้ำ ยิม เป็นต้น
และมีค่าเบี้ยเลี้ยงในการดำรงชีพในประเทศนั้นๆให้  ถ้าบินไปประเทศยุโรปจะได้ค่าเบี้ยเลี้ยงเยอะกว่าบินไปฝั่งเอเชียเพราะค่าครองชีพที่สูงกว่า  ยกตัวอย่างเช่น หากบินไปยุโรป 3 วัน 2 คืน บริษัทจะจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงคิดเป็นเงินไทยประมาณ 6,000 บาท (ถือว่าเยอะในระดับหนึ่ง ใครที่ไม่ค่อยช๊อปปิ้งสามารถเก็บเงินจากตรงจุดนี้ได้เยอะเลยทีเดียว)

✈ 13.ประเทศที่ต้องอาศัยตลอดระยะเวลาการทำงาน?
e
แบ่งเป็น 2 ประเทศ
 พักอาศัยอยู่เมืองไทย  เช่น สายการบินไทย , Eva Air , Jet Star , Korean Air , Asiana , Jal  (บางสายการบิน บินเป็น Pattern เช่น สายการบินเกาหลี อยู่เกาหลี 20 วัน และอยู่ไทย 7 วัน ในหนึ่งเดือน) 
➨ ย้ายถาวรไปยังประเทศนั้นๆ  เช่น สายการบินในตะวันออกกลาง 
Oman Air (ย้ายไปอยู่ เมืองมัสกัต ประเทศโอมาน)
Qatar Airways (ย้ายไปอยู่ เมืองโดฮา  ประเทศกาตาร์)
Etihad (ย้ายไปอยู่ เมืองอาบูดาบี้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)
Emirate (ย้ายไปอยู่ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ )
** สายการบินแขกย้ายไปอยู่ถาวรตลอดอายุการทำงาน **

✈ 14.เรื่องที่พัก Home based ในประเทศนั้นๆ ในสายการบินแขก ต้องจ่ายเงินเองหรือไม่ มีสวัสดิการอะไรให้บ้าง?
f
เมื่อย้ายการทำงานมาอยู่ประจำยังเมืองบ่อน้ำมัน  บริษัทจะมีการจัดหาที่พักไว้ให้อย่างสะดวกสบาย คล้ายอพาร์ทเม้นต์  อาศัยอยู่กับรูมเมท
ซึ่งใน 1 ห้องพัก ก็จะแล้วแต่ว่ากันไปจะได้  2 ห้องนอน หรือ 3 ห้องนอน  ภายในห้องจะประกอบไปด้วย ห้องนั่งเล่น ห้องนอน (ห้องน้ำในตัว) ห้องครัว มีเฟอร์นิเจอร์ครบครัน เช่น  เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า โซฟา ไมโครเวฟ สิ่งอำนวยความสะดวกครบครันทุกอย่าง  และไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ  (ความจริงแล้วสายการบินส่วนใหญ่จะหักออกจากเงินเดือนในทุกๆ เดือนประมาณ 10,000 บาท เพราะฉะนั้นใครที่หาที่พักเองข้างนอกก็จะได้เงินส่วนต่างในจำนวนนี้ค่ะ )


✈ 15. ไปทำงานอย่างไร มีรถรับส่งหรือไม่?
บริษัทมีรถจัดรับส่งให้ระหว่าง ที่พัก-ออฟฟิซ-สนามบิน  ให้อยู่แล้วค่ะ  ปกติเวลามีไฟลท์บิน เพียงแค่ลงมานั่งรอที่ล่างภายในตึก ก็จะมีรถมารับไปส่งที่ออฟฟิซ ฟรีเช่นกัน

✈ 16. ยูนิฟอร์ม และค่าซักรีด?
g
DSC02117
อันนี้ฟรีเช่นกัน สำหรับพนักงานใหม่ที่เพิ่มเริ่มมาร่วมงานกับสายการบิน จะได้รับ ยูนิฟอร์มครบเซต ทั้ง เสื้อ กระโปรง เดรส กางเกง แจ็คเกต  หมวก เข็มขัด ผ้าคาด แคนดิกัน โค้ท รองเท้าส้นสูง และรองเท้าส้นเตี้ยไว้สำหรับทำงานบนเครื่องบิน  กระเป๋าสะพาย กระเป๋าลาก และกระเป๋าใบใหญ่เวลามีไฟลท์ค้างคืน  ทุกอย่างบริษัทจัดให้ ฟรีทั้งหมดรวมถึงค่าซักรีด ทุกๆ ปี ก็จะได้เสื้อผ้าใหม่อีกเซ็ต  
**ความจริงแล้วค่าใช้จ่ายทั้งหมดคิดอยู่ในสัญญาและตามเงื่อนไขของบริษัทนั้นๆ  หากเรามีการต้องลาออกก่อนกำหนด จะต้องมีการจ่ายค่าปรับ (เงินก้อนจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ในสัญญาว่าจ้าง) แต่หากเราอยู่ครบสัญญาการว่าจ้าง ก็จะไม่มีค่าปรับใดๆ ค่ะ

✈ 17. สัญญาการจ้างงานกี่ปี ? ทำได้จนถึงอายุเท่าไหร่?
สัญญาการว่าจ้างมีระยะเวลาตั้งแต่ 1-3 ปี ซึ่งแล้วแต่สายการบิน ว่าจะ Renew Contract  หรือมีการต่อสัญญาว่าจ้างเรื่อยๆหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติงานด้วย หรือบางสายการบิน ต่อสัญญาว่าจ้างให้อัตโนมัติก็มีค่ะ
ส่วนทำได้ถึงอายุเท่าไหร่  ต้องตอบว่า บินได้เท่าที่ร่างกายเราไหวเลย บางสายการบินอาจอยู่ได้ถึงอายุ 50-60 ปี แต่อาชีพนี้ต้องยอมรับว่าอายุงานสั้น อาจด้วยหลายปัจจัย อยู่ไกลบ้าน ครอบครัว และ สุขภาพ เพราะฉะนั้นจึงเห็นนางฟ้าส่วนใหญ่บินจนถึงอายุ 30-40 ปีก็เริ่มถอดปีกกันแล้ว แล้วจะลงมาทำงานภาคพื้นดินซะมากกว่า  เช่น คุณครูสอนบุคลิกภาพ  เปิดโรงเรียนติวเตอร์สมัครแอร์ฯ   แต่งงานมีครอบครัว หรือ ทำธุรกิจส่วนตัว

✈ 18. เป็นอาชีพที่มั่นคงหรือไม่? 
ถ้าเป็นสายการบินแห่งชาติ บอกได้เลยว่ามั่นคงมากค่ะ  เพราะโอกาสถูกเลิกจ้างมีน้อยมาก ส่วนสายการบินย่อยสมัยนี้อัตราการแข่งขันสูงมาก แข่งขันกันทำโปรโมชั่น สายการบินไหนที่สู้ต้นทุนไม่ไหวก็ต้องปิดไป ลูกเรือก็มีโอกาสถูกเลิกจ้างสูง เพราะฉะนั้นพยายามปฎิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่

✈ 19.ความก้าวหน้าเติบโตในหน้าที่ บินกี่ปีถึงจะได้เลื่อนขั้น?
การทำงานจะเป็นไปตามระดับ
➨ Economy Class บินชั้นประหยัดก่อนประมาณ 2-5 ปีแล้วเลื่อนขั้น
➨ Business Class  ชั้นธุรกิจและชั้นเฟิร์สคลาสเทรนพร้อมกัน
➨ First Class

✈ 20. ไฟลท์บินแบ่งเป็นอย่างไรบ้าง?
➨ Schedule  ไฟลท์บินต่างๆ ตามตารางบินที่บริษัทจัดมาให้  ประมาณ 8-10 ไฟลท์ต่อเดือน
➨ Standby  แบ่งเป็น 2 ประเภท
– Home Standby
คือแต่งหน้าสวยๆเเล้วนอนรอโทรศัพท์อยู่ที่บ้าน รอเค้าโทรมาเรียกไปบิน เเล้วเเต่ว่าจะได้ไฟลท์บินไปไหน ไม่สามารถหยั่งรู้ได้  ส่วนใหญ่จะแย่ซะมากกว่าเพราะเป็นไฟลท์ที่ลูกเรือคนอื่น Report Sick แล้วโยนมาให้เราบิน เเต่บางครั้งอาจได้ไฟลท์ดี หรือบางครั้งก็อาจรอดค่ะ
 Airport Standby
 คือแต่งหน้าสวยๆ ใส่ยูนิฟอร์มเต็มยศ ไปนั่งรอที่ออฟฟิซเลยค่ะ (ไม่ใช่ที่สนามบิน)  กรณีนี้ เราก็ต้องรอเรียกอีกเช่นกัน ว่าจะโดนบินไปไฟลท์ไหน ไม่สามารถหยั่งรู้ได้เช่นกัน

✈ 21. เคยมีข่าวลวนลามแอร์ฯ หรือไม่ ทำงานสายแขก แขกขี้แต๊ะอั๋งจริงหรอ?
คิดว่าคงมีบ้าง  ตามข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ที่อ่านกันทั่วไป แต่กรณีถูกผู้โดยสารแต๊ะอั๋ง ฝนยังไม่เคยเจอ ส่วนมากจะเป็นอุบัติเหตุมือหรือแขนมาโดนก้นอะไรทำนองนี้มากกว่า  ผู้โดยสารคนแขกขี้แต๊ะอั๋งนี่ไม่น่าจะจริง แต่ถูกลูกเรือแขกขี้แต๊ะอั๋งอันนี้ คอนเฟิร์ม  ฮ่าฮ่า (บางคนนะ)
คนแขกคารมณ์ดี ปากหวานเป็นเริศ มือไวเป็นที่สุด พูดไปโอบไหล่ไป หรือเอามือไปจับ  อาการหนักถึงขั้นเคยขอแต่งงาน (ทั้งที่เพิ่งเคยทำงานด้วยกัน) อันนี้เป็นเรื่องของสิทธิที่เราต้องรักษาและปกป้องตัวเอง ไม่ผิด ด่าไปได้เลย หรือถ้ายังไม่หยุดอันนี้เขียน Report แจ้งหัวหน้าได้เลยค่ะ

✈ 22. ตื่นก่อนไปบินกี่ชม?
2 ชม.ค่ะ สมมุติ Report Time ที่เราต้องไป Check-in คือ 8 โมง ต้องลงมารอรถประมาณ 7  โมง เพราะฉะนั้นจะต้องตื่นประมาณ 6 โมงเพื่อเตรียมตัวแต่งหน้าและแต่งตัว  ยกตัวอย่าง มีไฟลท์บินไป-กลับประเทศอินเดียในตารางบิน   
  MCT-BOM  (มัสกัต – บอมเบย์)
  Report Time 22.45
  Flight Time   ขาไป  01.15  (MCT Time) – 05.30 (BOM Time)
                            ขากลับ 07.20 (MCT Time) – 08.25 (BOM Time)
➨ ไฟลท์กลางคืนเพราะฉะนั้นต้องนอนกลางวันก่อน ตื่นประมาณ 20.45 เพื่อเตรียมตัว
➨ ลงมารอรสบัส 21.45 หรือ 22.00
➨ ถึงออฟฟิซ และ Check-in 22.45
➨ Briefing ตอบคำถามหัวหน้า และรับรู้ข้อมูลไฟลท์อย่างย่อ
➨ นั่งรถบัสต่อไปสนามบิน  ขึ้นเครื่องก่อนผู้โดยสารเพื่อเตรียมความเรียบร้อย
➨ 00.45 เริ่ม Boarding ต้อนรับผู้โดนสารขึ้นเครื่อง
➨ 01.15 เครื่อง Take-off ออกจากสนามบินมัสกัต ถึงสนามบินอินเดีย 05.30   
➨ ลูกเรือรออยู่บนเครื่อง รอ Cleaner ทำความสะอาด แล้วตีเครื่องกลับมาเลย
➨ 8.25 ถึงสนามบินมัสกัตโดยสวัสดิภาพ
➨ รอรถบัสออฟฟิซ กลับ บ้าน ถึงบ้านอาบน้ำเสื้อผ้าเข้านอน โดยประมาณ 10.00 โมงเช้า
** สิริเวลารวมแล้วที่ต้องเตรียมตัวคือ 20.45 – 10.00  ส่วนชม.บินที่ได้เงิน คิดจากเวลา Check In – Check Out  **


✈ 23.ไฟลท์บินมีกี่ประเภท อย่างไรบ้าง?
Turn Around   บินไปกลับ เช่น ประเทศอินเดียอย่างที่ยกตัวอย่างข้างต้น
 Layover ไฟลท์ค้างคืน  ซึ่งค้างกี่คืนแล้วแต่ตารางบินที่ได้รับ

✈ 24. เวลาไปค้างคืนต่างประเทศ ออกไปเที่ยวได้หรือไม่ ผิดกฏหรือเปล่า?
h
j
เวลาทำไฟลท์บินไปต่างประเทศ ส่วนใหญ่บริษัทจะจัดให้มีเวลาเหลือเฟือพอสำหรับการออกไปหาอาหารกินนอกโรงแรม หรือทำกิจกรรมในระยะเวลาสั้นๆ  เราสามารถออกไปเที่ยว หรือช๊อปปิ้งได้ ไม่มีปัญหาเลยค่ะ เพียงแต่ “ต้อง”กลับมาถึงโรงแรมให้ทันก่อน Pick Up Time  
ส่วนหากได้ไฟลท์บินค้างคืนที่มีหลายวันหน่อย อาจวางแผนไปเที่ยวไกลขึ้นไปอีก เช่น ทำไฟลท์ไปลงเมืองมิลาน ประเทศ อิตาลี ได้ไฟลท์ค้างคืน 3 คืน สามารถนั่งรถไฟไปเที่ยวที่โรมได้ ที่เวนิสได้  แต่ต้องบริหารจัดการเวลาดีๆ เพราะความจริงบริษัทไม่อนุญาต จะต้องขออนุญาตกัปตันก่อนออกไปไกลนอกเมือง   หรือหากจะย่องไปต้องมั่นใจว่ากลับมาทำไฟลท์ขากลับทันแน่นอน  แต่ลองคิดถึงความเสี่ยงภายหลังว่าคุ้มกันหรือไม่ อันนี้ต้องตัดสินใจเลือกเอาเองค่ะ

✈ 25. ไฟลท์บินนานสุดกี่ชม.?
บินไป-กลับ ประมาณ 17 ชม. นั่นคือไฟลท์ Auckland , Newzealand ไฟลท์บินที่ยาวนานที่สุดในโลก !!  ณ ตอนนี้   นับตั้งแต่เวลาเชคอิน จนถึงเวลาเชคเอ้าท์ (ไม่นับเวลา แต่งตัวก่อนติดปีก และหลังถอดปีก) 
และยังมีไฟลท์บินไปกลับ ( Turn Around) ที่ขาไปใช้เวลากว่า 4-6 ชั่วโมง และ ขากลับก็ใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมงเช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นไฟลท์ บูดาเปส , กรีซ ,ตุรกรี , อิยิปต์ , อินเดีย  เป็นต้น

✈ 26. แอร์ฯแขก สายการบินบ่อน้ำมัน เงินเดือนถึงแสนจริงหรือไม่?
ถึงค่ะ เฉลี่ยออกมาทั้งปีแล้วตัวเลขออกมา ตกเดือนละเกินหกหลัก เเต่จะได้ในจำนวนเเสนต้น เเสนกลาง หรือเเสนปลาย ขึ้นอยู่กับระดับความซีเนียร์หรือตำเเหน่งเลย  
ซึ่งหากว่าเป็นลูกเรือระดับจูเนียร์อาจต้องบินเยอะขึ้น หรือ อาจจะได้ไม่ถึง เพราะ Basic Salary ยังไม่สูงเท่ารุ่นพี่ระดับซีเนียร์ ที่มีประสบการณ์บินสูงกว่าค่ะ

✈ 27. เป็นแอร์แขก รับความกดดันอะไรบ้าง?
k
➨  สภาพการทำงานที่แตกต่าง  ต้องร่วมงานกับคนต่างชาติต่างภาษา และต่างศาสนา (คนที่นี่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม  เราจึงต้องเคารพและให้เกียรติห้ามหลบหลู่เรื่องความเชื่อและศาสนากัน)
➨  สภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่แตกต่าง เพราะต้องย้ายมาอาศัยอยู่เมืองแขก เมืองค่อนข้างเงียบเหงา ไม่เหมือนที่ไทย  ร้านอาหารข้างนอกค่อนข้างแพง เลยต้องหัดทำอาหารกินกันเอง  ร้านอาหารที่ขายตามข้างทางที่ไทย  เมืองแขกจะไม่มีเลย ไม่มีเซเว่นอีเลเว่นสะดวกซื้อแบบที่ไทยด้วย  ส่วนเวลาป่วยต้องอยู่บ้านดูแลตัวเองคนเดียว  เพราะอยู่ไกลบ้าน ไกลครอบครัว

✈ 28. ผู้โดยสารหลัก?
ผู้โดยสารหลักคือ สัญชาติอินเดีย ปากี เนปาล ยูโรเปียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี แอฟริกาใต้ ปะปนกันไป  ส่วนคนไทยจะมีบ้างตามไฟลท์กทม. เวลาเห็นผู้โดยสารคนไทย   รีบทักทันที “สวัสดีค่า” ชื่นใจค่ะ

✈ 29.การซื้อของในดิวตี้ฟรี?
ลูกเรือจะได้ส่วนลดจากเคาท์เตอร์แบรนด์ ที่ร่วมรายการ ประมาณ10-20 เปอร์เซนต์

✈ 30.สวัสดิการอื่นที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง?
L
จากสวัสดิการเรื่องที่พัก ค่าซักรีด หรือรถบัสที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลตามโรงพยาบาลที่สายการบินร่วมด้วย  และอีกสวัสดิการที่คงเป็นที่ถูกใจสำหรับคนชอบเที่ยว นั่นก็คือ ตั๋วเครื่องบินจากสายการบินใหญ่ๆ  (Code Share) เช่น โอมาน กาตาร์ เอมิเรตส์ โคเรียน เอธิฮัด  การบินไทย เดลต้า และอีกมากมาย  ซื้อเราสามารถซื้อตั๋วและจ่ายในราคา 10 เปอร์เซนต์จากราคาเต็ม (แต่เป็นตั๋วสแตนบายนะคะ คือเราจะต้องรอให้มีที่นั่งเหลือจากสายการบินนั้นๆ ซึ่งถ้าที่นั่งเต็มก็ต้องรอไฟลท์รอบถัดไป  เหมาะสำหรับผู้ต้องการประหยัดและรับความยืดหยุ่นเรื่องเวลาได้ )
ยกตัวอย่างเช่น   ตั๋วที่นั่งชั้นประหยัด  กทม.- ญี่ปุ่น ของสายการบินการบินไทย ราคาไปกลับเพียง ประมาณ 5,000 -6,000 บาทเท่านั้น)   เท่านี้เราก็สามารถท่องโลกกว้างได้แล้ว ไม่ต้องแปลกใจว่าเหตุใดเหล่าแอร์จึงชอบเที่ยวเป็นชีวิตจิตใจ เนื่องด้วยเพราะ Benefit ตัวนี้ คุ้มค่ามากๆกับการใช้ชีวิตเลยทีเดียว
ปล. สวัสดิการนี้ใช้ได้กับพ่อและแม่เราเช่นกัน

✈ 31. เคยทะเลาะกับผู้โดยสารหรือลูกเรือหรือไม่?
ส่วนตัวแล้วไม่เคยทะเลาะกับผู้โดยสารหรือลูกเรือเลยค่ะ แต่อาจเป็นในลักษณะของ Complain หรือ Miscommunication ซะมากกว่า  เช่นทำกาแฟหกใส่ผู้โดยสาร  อากาศร้อน หรือ Feedback ที่ได้จากหัวหน้า เช่น ไม่ได้ทาเล็บ หรือเหตุการณ์ที่ต่างๆ ที่เรายังไม่ได้ทำให้ “Up to Standard”  เรื่องเหล่านี้จะถูกเขียนบันทึกเป็น Report ของเรา ส่วนคนชมจากผู้โดยสารและหัวหน้า เราจะได้รับจดหมายขอบคุณจากบริษัทเช่นกันค่ะ
ส่วนเรื่องการทะเลาะกับลูกเรือยังไม่เคยทะเลาะกับลูกเรือด้วยกันเองถึงขั้นต้อง Report เพราะคนไทย ขึ้นชื่อเรื่องมีน้ำใจ และยืดหยุ่นอยู่แล้ว อาจจะมีเคืองโกรธขัดใจกันบ้าง แต่สุดท้ายแล้วก็เคลียร์ปัญหากันได้ เพราะเราทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานหลากหลายสัญชาติ ย่อมเกิดปัญหาเรื่องต่างๆได้ ง่าย  เช่น ความเข้าใจทางวัฒนธรรม การสื่อสารที่ไม่ตรงกัน ลักษณะการแสดงออก เป็นต้น 

✈ 32. สังคมการทำงาน และเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างไรบ้าง?
ทั้งหัวหน้าและกัปตันเปลี่ยนหน้ากันทุกไฟลท์ บินไม่ซ้ำกันเลย  เพราะฉะนั้น ทักษะการเข้าหาผู้อื่นและ การทำงานเป็นทีม (Teamwork)  จึงสำคัญมากถึงมากที่สุด ยิ่งทำงานร่วมกับคนต่างชาติต่างภาษาต่างศาสนาแล้ว โอกาสเกิดความเข้าใจผิด จากการสื่อสารเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง   เป็นเหตุผล ที่เวลารับสมัครแอร์ กรรมการจึงให้ความสำคัญกับขั้นตอนการสมัคร ตอนการจับกลุ่มอภิปราย ( Group Discussion)

✈ 33.เรื่องของส่วนสูงและน้ำหนัก , ต้องพูดได้กี่ภาษา  , ไม่สูงมากหมดสิทธิ์สมัครหรือไม่, การจัดฟัน , แผลเป็น , ไม่มีประสบการณ์การทำงาน สายการบินจะรับหรือไม่?
m
สามารถย้อนกลับไปอ่านได้ในหมวด CABIN CREW
บทที่ 3 “วิธีการเตรียมตัวเบื้องต้น  สมัครแอร์สายการบินตะวันออกกลาง”

✈ 34.มาอยู่ต่างบ้านต่างเมือง เรื่องหัวใจทำอย่างไร?
ขึ้นชื่อว่าเป็น รักทางไกล ยังไงหัวของทั้งสองฝ่ายต้องแข็งแรง  ด้วยเทคโนโลยีสมัยนี้ที่ทำให้การสื่อสารสะดวกมากขึ้น รู้สึกเหมือนไม่ได้อยู่ห่างกัน อันนี้ก็สามารถช่วยได้ แต่ก็เจอบ่อยนักกับคู่รัก ที่ต่างฝ่ายต่างมีคนใหม่ หรืออีกฝ่ายมีคนใหม่ เพราะ ทนปัจจัยหลายๆ อย่างไม่ไหว  ถ้าได้ทำงานประจำอยู่เบสที่ไทย คงจะไม่ค่อยมีปัญหา เพราะ ถึงยังไงก็ยังได้พบเจอเหมือนเดิม แต่หากต้องมาทำงานที่เมืองแขก ไกลบ้าน โอกาสกลับไทยเดือนละประมาณ 1-2 ครั้ง อันนี้ต้องดูแลเอาใจใส่กันมากกว่าเดิมค่ะ

✈ 35.คะแนนโทอิคขาด หมดสิทธิ์รับพิจารณาเลยหรือไม่?
โดยส่วนใหญ่แล้ว ทางสายการบินไม่รับค่ะ ถ้ามีเวลาควรหาโอกาสไปสอบใหม่ และหมั่นอ่านหนังสือเพื่อ เพิ่มคะแนนสอบของตัวเองให้มากขึ้น และไม่ควรปล่อยให้หมดอายุ เมื่อใดที่สายการบินมาเปิดรับสมัครจะได้มีผลคะแนนยื่นในทันที  ส่งก่อนมีโอกาสก่อนค่ะ

✈ 36.การไปสมัครวอร์คอินต่างประเทศ ดีกว่าสมัครที่ไทยจริงหรือ?
คำตอบคือ มีโอกาสมากกว่าค่ะ   เนื่องจาก ผู้สมัครน้อยกว่าจึงมีอัตราการแข่งขัน ที่ไม่สูง เท่ากับการที่สายการบินมาเปิดรับสมัครลูกเรือ ที่กรุงเทพมหานคร ที่มีจำนวนผู้สมัครไม่เคยต่ำกว่า 1,000-2,000 คนเสมอ
 ประเทศที่แนะนำในการไปสมัคร Walk-in ที่ต่างประเทศ ได้แก่  ประเทศมาเลเซีย , ประเทศสิงค์โปร , ประเทศพิลิปปินส์ , ประเทศฮ่องกง เป็นต้น
หรือคอยติดตามแคมเปญ ล่าสุดของสายการบินที่มีแนวโน้มว่าจะมาเปิดรับสมัครลูกเรือคนไทย  ที่ต่างจังหวัด ยกตัวอย่างเช่น สายการบิน Qatar Airways ที่มักมาเปิดรับสมัครลูกเรือไทยที่   จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดภูเก็ต เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การไป Walk-in  ที่ต่างประเทศ  จะต้องเช็คข้อมูลเบื้องต้นก่อนด้วยว่า ในประเทศนั้นๆ ที่สายการบินเปิดรับสมัคร  เค้ารับผู้สมัครที่ถือพาสปอร์ตสัญชาติไทยหรือไม่ (Thai Passport) เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว  อาจเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น  เพราะเมื่อเราบินไปถึงหน้างานแล้ว กรรมการอาจปฏิเสธเนื่องจาก เราไม่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น

ข้อดี – ข้อเสีย การไปสมัครวอร์คอินที่ต่างประเทศ
ข้อดี / สิ่งที่เราได้เปรียบข้อเสีย / สิ่งที่เราเสียเปรียบ
1.จำนวนผู้สมัคร ที่น้อยกว่าทำให้มีโอกาสได้รับการคัดเลือกที่สูง   เนื่องจากแต่ละสนามมีผู้สมัครไม่เกิน 500 คน1. มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูง  ค่าเครื่องบิน ค่าที่พัก และค่าเดินทางในต่างประเทศ 
2.มีความได้เปรียบในเรื่องของ บุคลิกภาพ และ รูปลักษณ์ภายนอกโดยรวม  เนื่องจากคนไทยขึ้นชื่อ เรื่องความเป๊ะ ของการแต่งหน้า ผม และ การแต่งกาย  เมื่อเปรียบเทียบกับ ผู้สมัครจากประเทศในแถบเอเชีย2. ไม่มีความชำนาญ ในเรื่องเส้นทาง  หรือตำแหน่งที่ตั้งของโรงแรมที่รับสมัคร เท่าที่ควร ทำให้อาจเกิดงบประมาณที่บานปลาย
3. มีโอกาสได้ท่องเที่ยวในประเทศนั้นๆ  หลังจากจบการสมัคร3.ในเรื่องของภาษา  เพราะการที่จะไปสมัครวอร์คอินที่ต่างประเทศได้  ควรจะสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีเลยทีเดียว  ทั้งในเรื่องการเดินทางในต่างประเทศคนเดียว  และการใช้ภาษากับ ผู้สมัครที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ดีกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องเล่าเอามาฝาก....อยากรู้อะไรเกี่ยวกับอาชีพแอร์โฮสเตส ต้องอ่านบทนี้!

อยากรู้อะไรเกี่ยวกับอาชีพแอร์โฮสเตส  ต้องอ่านบทนี้!   คุณจะได้เห็นมองภาพรวมของอาชีพนี้ได้ดียิ่งขึ้นเลยค่ะ   อย่างคำถามที่เราเจอกันบ่อย  เริ...